วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

395 ปี แฟร์เนา เมนเดซ ปินโต

395 ปี บันทึกของ ปินโต



บันทึกความทรงจำของแฟร์เนา เมนเดซ ปินโต เรื่อง “Pérégrinação”ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปี

ค.ศ.1614 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และเหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆ รวมทั้งอัตชีวประวัติของเขาอย่างน่าตื่นเต้นและเหลือเชื่อ จนมีการใช้ชื่อของปินโตเล่นคำเชิงล้อเลียนว่าพูดจริงหรือเท็จอย่างสนุกสนานโดยชนชาติศัตรูของโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน บันทึกของปินโตถูกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทยอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมาจนปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงบทบาทของทหารรักษาพระองค์ชาวโปรตุเกส และการพระราชทานที่ดินให้พวกเขาตั้งถิ่นฐานและปฏิบัติศาสนพิธีในสมัยอยุธยา จึงเป็นที่มาของการตรวจสอบว่าหนังสือฉบับนี้มีสถานะเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือเป็นเพียงนิยายผจญภัย







อย่างไรก็ดี นักประวัติศาสตร์และผู้อ่านจำนวนไม่น้อยกลับมีความสงสัยต่อความเก่งกล้าสามารถของปินโต บางคนประนามว่างานเขียนของเขาเป็นเรื่องโกหกเพื่อความมีชื่อเสียงของตน แม้แต่ชาวโปรตุเกสเองก็ยังนำชื่อของเขาไปล้อเลียน ทั้งๆที่ปินโตไม่เคยระบุว่า เป็นนิยายประโลมโลก ( Fiction) แต่กลับบอกว่า บันทึกของเขาเปรียบเป็น “ตำรา”ในการสำรวจดินแดนและการเดินเรือไปยังดินแดนต่างๆในโลกตะวันออก ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของบันทึกฉบับนี้





ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า ใกล้เมืองกูอิงบรา ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ในค.ศ. 1523 ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา การผจญภัยของปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว (Diu) ในอินเดียในค.ศ.1538 ขณะมีอายุได้ 28 ปี เขาเดินทางกลับมาตุภูมิเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวลา 21 ปีของการแสวงโชคในเอเชีย ปินโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ โคชินไชนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน



ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้งและถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นทั้งกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา เมื่อเดินทางกลับไปถึงโปรตุเกสในปี

ค.ศ.1558 เขาจึงพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัล เนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนัก ปินโตจึงไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองปรากัลป์ ใกล้เมืองอัลมาดา ทางใต้ของโปรตุเกส ปินโตเขียนหนังสือขึ้น และถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583







งานเขียนของปินโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส (1628) ภาษาอังกฤษ (1653) ใน ค.ศ.1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ “การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ1537-1558” แปลโดยสันต์ ท. โกมลบุตร ต่อมากรมศิลปากรร่วมกับกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขาออกเผยแพร่อีกครั้งใน ค.ศ.1988 โดยแปลจากหนังสือชื่อ “Thailand and Portugal : 470 Years of Friendship”





งานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปของร้อยแก้ว บางตอนก็ระบุว่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาจากคำบอกเล่าและการสอบถามผู้รู้ อาทิ เหตุการณ์เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคต บางตอนก็ระบุว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์เดินทางเข้ามายังสยาม 2 ครั้ง เป็นต้น





ปินโตระบุว่า การเล่าเรื่องการเดินทางของเขามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ของโลกให้มากยิ่งขึ้น มิได้มีจุดประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความท้อถอยในการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย เขาระบุว่าอุทิศการทำงานให้แก่พระเจ้ามิได้หวังชื่อเสียง สิ่งที่ผลักดันให้เขาเดินทางไปยังตะวันออก คือ ธรรมชาติของลูกผู้ชาย เขาแสดงความขอบคุณพระเจ้าและสวรรค์ที่ช่วยให้รอดพ้นจากภยันตรายมาได้

ส่วนเฮนรี โคแกนระบุว่า จุดมุ่งหมายในการแปลหนังสือ จากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษ คือ ต้องการให้ผู้อ่านทั่วไปเกิดความพึงพอใจและกระตุ้นให้มีการสำรวจและค้นคว้าทางภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นบทเรียนให้สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเรืออับปาง เพื่อทัศนศึกษาดินแดนต่างๆในโลกกว้างและเพื่อเรียนรู้เรื่องราวของ“คนป่าเถื่อน”





จุดมุ่งหมายที่จริงจังของทั้งปินโตและโคแกนสะท้อนให้เห็นคุณค่าของเหตุการณ์ สถานที่ ทรัพยากร อารมณ์ ความรู้สึกและวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คนที่ปรากฏในหนังสือ อย่างไม่อาจมองข้ามได้ งานของปินโตจึงได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวาง อย่างน้อยๆฉบับแปลภาษาฝรั่งเศสในปีค.ศ.1628 ก็ถูกอ้างอิงโดยซิมอง เดอ ลาลูแบร์ ซึ่งเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อกล่าวถึงจำนวนเรือที่เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยาก่อนหน้าการเข้ามาของตน ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่าหากลาลูแบร์เคยได้ยินการเสียดสีงานเขียนของปินโตมาบ้างก่อนที่จะเดินทางเข้ามาสยาม เขาควรจะได้ตรวจสอบข้อมูลและหลักฐานจากผู้รู้พื้นเมืองชาวสยามอีกครั้ง ก่อนจะตีพิมพ์งานเขียนของตนที่กรุงอัมสเตอร์ดัมในปีค.ศ.1714 เพราะงานเขียนของปินโตเคยถูกล้อเลียนมาแล้วอย่างอื้อฉาว แต่กลับไม่ปรากฏข้อวิพากษ์ความน่าเชื่อถือของปินโตในงานของลาลูแบร์





หนังสือของปินโตถูกตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวางในยุโรป จึงเป็นเหตุให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง วิลเลียม คอนเกรฟ นักเขียนบทละครชาวอังกฤษได้แทรกบทกวีในบทละครชื่อ “Love for Love” เยาะเย้ยว่า “Mendez Pinto was but a type of thee, thou liar of the first magnitude.” เซอร์ ริชาร์ด เบอร์ตัน ในงานเขียนชื่อ “The Third Voyage of Sinbad, the Sailor” ระบุว่า การผจญภัยของปินโตมีลักษณะคล้ายกับเรื่องราวในนิยายอาหรับและตั้งฉายาเขาว่า “ซินแบดแห่งโปรตุเกส







อย่างไรก็ดี ดึ กัมปุช อดีตกงสุลใหญ่โปรตุเกสเมื่อค.ศ.1936 กลับชี้ว่าหลักฐานของปินโตแสดงให้เห็นว่าเขาเคยเดินทางเข้ามายังสยามจริง



ผู้เขียนเห็นว่างานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรมประโลมโลกหรือนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ แม้เนื้อหาบางตอนจะดูตื่นเต้นเร้าใจเกินกว่าจะมีความสมจริงตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์ แต่ในสภาวะที่ยุโรปเพิ่งจะพ้นจากยุคแห่งการจุดไฟเผาหญิงสาวที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดและยังคงเคร่งต่อจริยธรรมทางศาสนา มีใครบ้างที่จะกล้าเปิดเผยต่อสาธารณชนว่าตนเองเคยรับประทานเนื้อมนุษย์เพื่อประทังชีวิตกลางทะเลหลังจากถูกโจรสลัดโจมตี ข้อถกเถียงในงานของปินโตอาจจะมีอยู่ไม่น้อย แต่มีหลักฐานประวัติศาสตร์ชิ้นใดบ้างที่ปราศจากคำถามและความเคลือบแคลง งานของปินโตถูกตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความแม่นยำของศักราชก็เพราะบันทึกของเขาเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นจากความทรงจำเมื่อเขาเดินทางกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในโปรตุเกสระยะหนึ่งแล้ว



พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐฯ เคยได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างยิ่งว่ามีความแม่นยำในเรื่องศักราชและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ แต่ต่อมานักประวัติศาสตร์บางท่านก็เคยตั้งข้อสงสัยต่อสถานภาพดังกล่าว ซึ่งถือเป็นความไม่เที่ยงของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในทางกลับกันอาจจะมีผู้ใช้บันทึกของปินโตมาตรวจสอบความแม่นยำของเอกสารฉบับใดฉบับหนึ่งอย่างจริงจังในอนาคตบ้างก็ได้

เขาค้อทะเลหมอก


   เมื่อนึกถึงทะเล ภาคตะวันออก แน่นอนว่าบางคน อาจจะคิดถึงเมืองใกล้ๆ อย่างพัทยา บางแสน หรือสัตหีบ แต่รู้หรือไม่ว่า หากเพิ่มการเดินทางไปอีกหน่อย เราก็จะพบชายทะเลที่สวย สงบ เต็มไปด้วยหาดมากมาย ซึ่งก็ได้แก่ จังหวัดระยอง นั่นเอง
   ระยองมีพื้นที่ประมาณ 3,552 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย และได้รับการขนานนามให้เป็นเมืองแห่งกวีศรีรัตนโกสินทร์อย่าง “สุนทรภู่” ที่มีผลงานเอกจากเรื่อง พระอภัยมณี นอกจากนี้ระยองยังเต็มไปด้วยความงดงามทางธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลและแหล่งปลูกผลไม้เมืองร้อน เช่น เงาะ ทุเรียน หรือมังคุด



   ส่วนทางด้านสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดระยองนั้นก็มีหลายแห่งที่น่าสนใจ เช่น  หาดแหลมเจริญ ที่มีลักษณะเป็นหมู่เกาะ โดยจังหวัดระยองนั้นมีทั้งหมด 3 เกาะ คือ และเเกาะมันใน เกาะมันกลางกาะมันนอก รวมถึงมีอ่าวที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ อ่าวต้นมะขาม อ่าวหินโขดหญ้า อ่าวโกงกาง และอ่าวหน้าบ้าน ที่ อ่าวหน้าบ้านจะมีปะการังสวยงาม ส่วนอ่าวโกงกางจะมีทรายเรียบ ถัดจากนั้นหาดแหลมเจริญก็จะเป็นหาดแสงจันทร์ ตั้งอยู่ตำบลปากน้ำ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 7 กิโลเมตร ที่นี่คุณสามารถเล่นน้ำทะเลได้และยังมีร้านอาหารและที่พักหลายแห่งไว้ บริการ



   หาดแม่รำพึง-บ้านก้นอ่าว ที่อยู่จากตัวเมืองระยองประมาณ 11 กิโลเมตร ถัดออกมาจากตัวเมืองระยองประมาณ 30 กิโลเมตร ก็จะได้พบกับหาดพยูนและหาดพลา ซึ่งเป็นชายหาดยาวติดต่อกันที่มีความสวยงามและสงบ โดยที่หาดพลาจะมีสวนสนปลูกไว้หนาแน่นเพื่อช่วยสร้างความร่มรื่น อีกทั้งยังมีโรงแรมและบังกะโลให้เลือกพักหลายแห่ง ส่วนหาดแหลมแม่พิมพ์นั้นจะอยู่ไกลจากตัวเมืองระยอง 48 กิโลเมตร ซึ่งเป็นสถานที่ที่ไม่มีคนพลุกพล่านเท่าไร



   น้ำตกคลองปลาก้าง เป็นน้ำตกสวยงามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 4 กิโลเมตร มีความยาวลดหลั่นกัน สูงประมาณ 10 เมตร ประกอบด้วยชั้นน้ำตกทั้งหมด 7 ชั้น คือ วังช้างผ่าน ลานผีเสื้อ แอ่งเครือสะบ้า ลานประตูผา ธารเกาะกลาง วังกระชาย ธารสายหมอก
   ตลอดทั้งสองฝั่งลำธารน้ำตก เป็นป่าดงดิบบริสุทธิ์ มีกล้วยไม้ป่า พืชพื้นล่างจำพวกว่าน เฟิร์น ขึ้นปกคลุมหนาแน่น โดยเฉพาะวังช้างข้ามที่เป็นชั้นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สวยงามมาก มีจุดกางเต็นท์และสิ่งอำนวยความสะดวกบริการแก่นักท่องเที่ยว เหมาะสำหรับผู้รักความสงบและต้องการสัมผัสกับธรรมชาติอย่างแท้จริง